คอสเพลย์ โดยปกติทั่วไปแล้วจะหมายถึงการแต่งการเลียนแบบตัวละครจากในเกมส์หรือการ์ตูน โดยอาจจะมีการแต่งกายเลียนแบบตัวละครที่ชื่นชอบและแสดงบุคลิกตามตัวละครนั้นๆด้วย เดิมทีการแต่งคอสเพย์ไม่ได้มีการระบุชื่อเรียกอย่างชัดเจนคำว่าคอสเพลย์นั้นเป็นการผสมคำระหว่าง คอสตูม (Costum) เครื่องแต่งกาย กับคำว่า โรลเพลย์ (Roleplay) การแสดงบทบาทสมมุติ คอสเพลย์จึงมีความหมายง่ายๆ สั้นๆ ว่าการเล่นเครื่องแต่งกายพร้อมทั้งสวมบทบาทเป็นตัวละครนั้นๆนั่นเองค่ะ
คอสเพลย์ จากความชอบสู่อาชีพ

เมื่อพูดถึงคนที่แต่งตัวเลียนแบบการ์ตูนหรือคาแรคเตอร์ในเกมส์ ที่ใครหลายๆคนเรียกว่า คอสเพลย์ เชื่อว่ามีคนไม่น้อย ที่ยังมองว่าการทำแบบนี้เป็นเรื่องที่ไร้สาระไม่ได้ประโยชน์ และการแต่งตัวแบบนี้ไปเดินในที่สาธารณะต้องมีความกล้าประมาณนึงเลยทีเดียว และยังเป็นสิ่งใหม่ๆมี่แปลกตาสำหรับคนที่ไม่อินคอสเพลย์อีกด้วย แต่ในปัจจุบันโลกของคอสเพลย์ได้เปิดกว้างมากขึ้นมีการจึดงานคอสเพลย์ตามสถานที่ต่างๆมากขึ้น จนเรียกได้ว่าการแต่งคลอสเพลย์นั้นอาจจะไม่ใช่เรื่องแปลกอีกต่อไป จนบางคนสามารถหาเงินจากการ แต่งชุดคอสเพลย์ไปเลยก็เป็นได้ค่ะ นอกจากนี้แล้วยังมีคลอสเพลย์เยอร์อีกหลายๆคนที่โด่งดังจากวงการนี้เลยทีเดียว คอสเพลย์เยอร์ที่ว่านั้นจะมีใครกันบ้างไปหาคำตอบที่ dupegoods.com กันเลย
1. Jasper Z

เซ่-รุจิภาส ดิษฐพรม หรือที่รู้จักกันในชื่อของ Jasper Z คอสเพลย์เยอร์ชื่อดัง กล่าวว่า นิยามคำว่า “คอสเพลย์” ที่หลายคนเข้าใจกันมากที่สุด มากจากคำว่า Custom (เสื้อผ้า) + Play (การเล่น) รวมกันเป็นคำว่า Cosplay คือการเล่นสนุกกับการแต่งกาย ในปัจจุบันการแต่งคอสเพลย์มาจากเลียนแบบตัวการ์ตูนหรือตัวละครในเกมส์ คนที่เริ่มแต่งคอสเพลย์ มักจะเริ่มมาจากการอ่านการ์ตูน ดูอะนิเมะ ชอบดูหนัง เล่นเกมส์ และเสพสิ่งบรรเทิงต่างๆ ซึ่ง Jasper Z ชื่นชอบในงานที่เกี่ยวกับการใช้ความคิดสร้างสรรค์ งานประดิษฐ์ งานคราฟต์ จึงมองว่าการคอสเพลย์ค่อนข้างที่จะตอบโจทย์แล้วทำให้เริ่มเข้าสู่วงการคอสเพลย์ ในช่วงมัธยมต้นจึงได้เริ่มที่จะแต่งคอสเพลย์ โดยช่วงนั้นคุณเซ่ มีงานอดิเรคคือดูการ์ตูนกับกลุ่มเพื่อนๆที่ชอบเหมือนกัน จากนั้นเพื่อนๆก็ไม่ชักชวนให้มาลองแต่งคอสเพลย์เป็นครั้งแรก แต่ในตอนนั้นคุณเซ่ก็ยังไม่เข้าใจว่าคอสเพลย์คืออะไร จึงได้หาข้อมูลเพิ่มมากขึ้น และหละงจากนั้นก็ได้มีการลงแข่งขันประกวดในเวทีต่างๆจนได้รับรางวัลมากมาย ซึ่งก็ได้ลงประกวดมาเรื่อยๆจนทำให้เป็นที่รู้จักและมีเชื่อเสียงโด่งดังเป็นอย่างมากจนมาถึงปัจจุบัน
2. Thames Malerose

เทมส์-สรณ ขุนพลพิทักษ์ หรือ Thames Malerose คอสเพลย์เยอร์ฟรีแลนซ์ชื่อดัง และสตรีมเมอร์เกมส์ โดยเขาได้ให้คำนิยามเกี่ยวกับ “คอสเพลย์” ในแบบของตัวเองว่า คือศิลปะ ตั้งแต่วัยเด็กเขาเป็นคนที่ชอบอ่านการ์ตูนและเล่นเกมส์เป็นงานอดิเรก การแต่งคอสเพลย์เหมือนได้เข้ามาเติมเต็มในชีวิตของเขามากขึ้น เขาได้สวมบทบาทเป็นตัวละครต่างๆ แต่พอแต่งไปเรื่อยๆก็ได้ความรู้ทักษะหลายๆอย่าง ทำให้เขายิ่งชอบการคอสเพลย์มากยิ่งขึ้น
คอสเพลย์แล้วได้อะไร?
การแต่งคอสเพลย์ทำให้ได้ทักษะต่างๆมากมาย ทำให้คนที่แต่งหน้าไม่เป็นก็เริ่มที่จะแต่งหน้าเป็น ทำผมเป็น ทำพร็อบ เย็บผ้า นอกจากนี้แล้ว ยังร็จักดูแลสุขภาพมากขึ้นหันมาออกกำลังกายเพื่อให้ตอนที่แต่งชุดคอสเพลย์แล้วออกมาดูดีมากขึ้น เพราะตัวละครชายหลายๆตัวมันจะชอบถอดเสื้อโชว์เรือนร่างนั้นเอง และนักคอสเพลย์หลายๆคนก็พยายามออกกำลังกายเพื่อให้หุ่นออกมาดูดีอีกด้วยค่ะ รวมไปถึงท่าโพส บุคลิกภาพก็ยังดูดีขึ้นอีกด้วย จากปกติเป็นคนที่ขี้อายพูดไม่เก่ง ก็ได้ฝึกฝนทักษะในด้านการพูดด้านการสื่อสารมากขึ้น มีความขนขวายพยายามมากขึ้น
เตรียมตัวก่อนคอสเพลย์

อันดับแรกเลยก่อนที่จะเริ่มคอสเพลย์เป็นตัวละครนั้นๆ เราต้องเริ่มต้นจากการศึกษาตัวละครนั้นๆก่อนว่ามีคาแรกเตอร์ยังไง ชุดเป็นแบบไหน มีพร็อบอะไรบ้าง เปรียบเหมือนงานศิลปะที่เราต้องคอยเรียนรู้อยู่ตลอดเวลา เมื่อศึกษาดูแล้วรู้ถึงลักษณะชุดและลักษณะของพร็อบต่างๆในตัวละครนั้นๆแล้วจึงค่อยไปหาร้านเช่าชุด หรือว่าถ้าหากหาเช่าไม่ได้ก็ต้องทำขึ้นเอง โดยสามารถหาซื้นวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ ได้ตาม พาหุรัด สำเพ็ง วงเวียนใหญ่ ถนนเจริญรัฐ และร้านเครื่องเขียนต่างๆ ก่อนที่จะตัดสินใจเลือกซื้อผ้านั้นเราจะต้องไปดูเนื้อผ้าที่ร้านก่อนว่าเป็นแบบไหนเนื้อผ้าและสีตรงตามที่เราต้องการจริงมั๊ย เพื่อนที่เวลานำมาทำชุด ชุดคอสเพลย์ของเราจะได้ออกมาสวยงามน่าหยิบมาสวมใส่นั้นเองค่ะ
คอสเพลย์ในช่วงโควิด 19

ค่อนข้างเป็นผลกระทบอย่างหนักเลยสำหรับในช่วงที่โรคโควทด 19 กำลังระบาดใหม่ๆ ทำให้ไม่สามารถจัดงานคอสเพลย์ได้ ทำให้หลายๆงานต้องยกเลิกไป บางงานก็ต้องเลื่อนออกไปก่อน แต่ในช่วงปี 2563 ที่โควิดระบาทอย่างหนักทำให้มีงานคอสเพลย์หลายๆงานเปลี่ยนมาจัดงานอีเว้นท์แบบออนไลน์กันมากขึ้น และได้มีการจัดประดวดออนไลน์อีกด้วย แต่ก็ต้องยอมรับด้วยว่าอรรถรสในการเข้าร่วมแบบออนไลน์ก็ยังไม่สามารถเข้าถึงอารมณ์ได้อย่างเต็มที่เหมือนกับการจัดงานในสถานที่จริงๆ จนมาถึงในช่วงท้ายๆของโควิด เมื่อโรคระบาดโควิด 19 เริ่มดีขึ้นก็ทำให้สามาถกลับมาจัดงานคอสเพลย์ตามสถานที่ต่างๆได้มากขึ้น แต่ก็ยังคงอยู่ในมาตรการควบคุมโรค โดยที่ต้องมีการเว้นระยะห่างและสวมแมสตลอดเวลาที่อยู่ในงาน